2/23/2551

งานกลุ่ม สรุปบทที่ 11(อ.สุรินทร์)

บทที่11 เทคโนโลยีและโปรโตคอลของบริการเสริมอื่นๆ

ในอดีตมีบริการที่เกิดมาพร้อมกับอินเตอร์เน็ต คือ lnternet Relay Chat หรือ IRC ซึ่งเริ่มมาจากการพิมพ์ข้อความโต้ตอบกันในระบบ Unix และได้พัฒนามาเป็น ห้องสนทนาหรือ chat room ในปัจจุบัน ต่อมาได้มีบริการใหม่ที่เรียกว่า ICQ เกิดขึ้น

นอกจากนี้IRC และ ICQ มีโปรโตคอลมาตรฐานที่ใช้การติดต่อกันด้วยเสียงผ่านอินเตอร์เน็ต อย่างที่ใช้ในปัจจุบัน

IRC (Internet Relay Chat Protocol : RFC 1459)

โปรโตคอลมาตรฐานของ IRC ได้รับการกำหนดไวในมาตรฐาน RFC 1459 โดยคำสั่งต่างๆที่ให้ใช้งานในโปรโตคอลของ IRC แบ่งออกได้ 6 ชนิด

Ø คำสั่งที่ใช้ในการติดต่อลงทะเบียน เป็นกลุ่มคำสั่งที่ใช้เริ่มในการติดต่อและสิ้นสุดการติดต่อ เช่น คำสั่ง NICK ที่ใช้แจ้งซื่อเล่น คำสั่ง QUIT เพื่อสิ้นสุดการติดต่อ เป็นต้น

Ø คำสั่งที่ใช้จักการช่องสัญญาณ เช่น คำสั่ง INVITE ใช้เพื่อให้ผู้ใช้เข้ามาใช้ช่องสัญญาณที่ระบุไว

Ø คำสั่งที่ใช้ตรวจสอบรายละเอียดเซิร์ฟเวอร์ เช่น คำสั่ง STAT ใช้ตรวจสอบสถิติต่างๆของเซิร์ฟเวอร์

Ø คำสั่งที่ใช้ส่งข้อความ เช่น คำสั่ง PRIVMSG ใช้ส่งข้อความระหว่างผู้ใช้

Ø คำสั่งของผู้ใช้เพื่อใช้สอบถาม เช่น WHOIS ใช้เพื่อสอบถามชื่อเล่นของผู้ใช้โดยระบุตัวอักษรบางตัว

Ø คำสั่งอื่นๆ เช่น KILL ใช้ยกเลิกการติดต่อระหว่างเซิร์ฟเวอร์และไคลเอนต์

ICQ

ICQ เป็นคำพร้องเสียงมาจากคำว่า /seek you หมายถึง เป็นเครื่องมือในการค้อหาเพื่อนหรือคู่สนทนาและติดต่อกันทางอินเตอร์เน็ตเป็นสื่อ การทำงานของICQนั้นจะเป็นลักกษณะที่เรียกว่า Internet Instant-Messagimg สมาชิกของICQ จำได้รับหมายเลขประจำตัวทุกคน เพื่อใช้ในการอ้างอิงในการติดต่อผ่านICQ ในอนาคต

Internet Telephony และ Teleconference

ปัจจุบันการติดต่อด้วยเสียงผ่านอินเตอร์เน็ตในลักษณะคล้ายการโทรศัพท์และการประชุมทางไกลผ่านทางอินเตอร์เน็ต สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ จึงได้ให้สัตยาบันรับรองข้อกำหนดอันหนึ่งที่เรียกว่า H.323 เป็นมาตรฐานที่ระบุวิธีการส่งเสียง ข้อมูล และภาพวิดีโอผ่านทางเครือข่ายท้องถิ่นชนิด IP และต่อมาในเวอร์ชั่น 2 ถูกกำหนดให้ครอบคลุมถึงการสื่อสารในระยะไกลอย่างอินเตอร์เน็ต

Voice over IP (VoIP)

การสื่อสารที่ถูกใช้มากที่สุดก็คือ การพูดคุยกันหรือสื่อสารทางเสียง ผู้ฟังต้องอยู่ในรัศมีที่เสียงของผู้พูดจะเดินทางไปถึง ได้มีการประดิษฐ์คิดค้นระบบโทรศัพท์เพื่อการสื่อสารถึงกันด้วยสัญญาณเสียง หลักการนี้เราจะเรียกว่า circuit switching มีข้อดี คือ สามารถรับประกันคุณภาพของสัญญาณที่ส่งไปได้ มีการใช้งานอยู่เพียงผู้เดียวตลอดระยะเวลาที่จับจองสัญญาณใช้งานอยู้ เป็นการใช้ช่องสัญญาณอย่างไม่คุมค่า

มีเทคโนโลยีอย่าง Packet switching เกิดขึ้นมาใหม่ก็จะใช้ช่องสัญญาณคุมค่ามากขึ้นเนื่องจากช่องสัญญาณจะถูกจับจองเป็นพิเศษโดยผู้ใช้คนใดคนหนึ่ง

WAP (Wireless Application potocol)

WAP เป็นมาตรฐานการสื่อสารเชื่อมต่ออุปกรณ์ไร้สายต่างๆ เช่น โทรศัพท์เคลี่อนที่ PDA หรือ Pocket Pc ที่เรียกว่า Wireless Lnformation Device (WID) เข้ากับอินเตอร์เน็ต สามารถเรียกข็อมูลจากเว็บได้เหมือนกับการใช้คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ

WAP เป็นโปรโตคอลการรับส่งข้อมูลที่เป็นมาตรฐาน World Wide Web เป็นมาตรฐานการใช้งานอินเตอร์เน็ต โดย WAP จะถูกจัดอยู่ใน Layer 2 – 7 ใน OSI Model ความหมานของWAP เป็นมาตรฐานการเชื่อมต่อของโปรโตคอลระดับบนที่สามารถต่อใช้งานกับฮาร์ดแวร์ชั่นล่างลงไปได้หลายชนิด และไม่ยึดติดกับการเชื่อมต่อกับฮาร์ดแวร์ชนิดใดชนิดหนึ่งตายตัว

SIM Tool Kit (STK)

ระบบเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งได้รับความนิยมคงจะหนีไม่พ้นเครือข่าย GSM มีให้บริการอยู่ 4 ย่านความถี่ด้วยกันคือ 470 MHz 900 MHz 1800MHz และ 1900MHz สำหรับในบ้านเรามีใช้อยู่สองความถี่ คือ 900MHz และ 1800MHz โทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบ GSM จะใช้การ์ด SIM การสร้างโปรแกรมประยุกต์เล็กเก็บไว้ในการ์ด SIM เพื่อที่ผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถเลือกทำรายการต่างๆ ผ่านโปรแกรมประยุกต์ โปรแกรมจะรวบรวมสิ่งที่ผู้ใช้เลือกส่งไปยังเซิร์ฟเวอร์พร้อมกันในคราวเดียวทำให้เสียเวลาโต้ตอบไปมากน้อยกว่าและค่าใช้จ่ายถูกกว่า เทคนิคนี้เรียกว่า STK (SIM Tool Kit)

GPRS (General Packet Radio Service)

GPRS เป็นบริการชนิดใหม่สำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่แต่เดินโทรศัพท์เคลื่อนที่ถูกออกแบบมาเพือใช้สำหรับสื่อสารโดยใช้เสียงเป็นหลัก หากต้องการส่งข้อมูล

บริการ GPRS นั้นเมื่อเทียบกับ OSI 7 Layer แล้ว GPRS จะอยู่ใน Layer 1 ถึง Layer 4 คือ ครอบคลุมตั้งแต่ Physical Layer ไปจนถึง Transport Layer หมายถึง GPRS เป็นโครงสร้างพื้นฐานของการการรับส่งข้อมูลระหว่างเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่กับอุปกรณ์ปลายทางอื่นๆบน IP Network ซึ่งโปรแกรมประยุกต์ที่จะนำมาใช้งานร่วมกับ GPRS จะอยู่ใน Layer 5 ถึง Layer 7 นั้นได้แก่ รับส่งไฟล์ ,Web browser, E-msil ,WAP เป็นต้น

Bluetooth

Bluetooth คือ การที่อุปกรณ์ไร้สายต่างๆไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ PDA หรือ Pocket PC สามารถรับส่งข้อมูลกันได้เป็นเครือข่ายส่วนบุคคลที่เรียกว่า Personsl Area Netwoek (PAN) เครือข่ายความเร็วสูงระยะใกล้ใช้คลื่นวิทยุเป็นสื่อในการรับส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ

มาตรฐานของ Bluetooth ยังครอบคลุมถึงการที่คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คสามารถเชื่อมต่อรับส่งข้อมูลกับอุปกรณ์ไร้สายดังกล่าวที่เรียกว่า Wireless LAN เพื่อให้ผู้ใช้สามารถโอนย้ายข้อมูลไปมาระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์ไร้สายได้สะดวก


1/02/2551

สรุปบทที่ 6,7และ8 (อ.สุรินทร์)

สรุปบทที่ 6
DNS
ระบบ Domain Name System หรือ DNS เป็นระบบจัดการแปลงชื่อไปเป็นหมายเลข IP Address โดยมีโครงสร้างฐานข้อมูลแบบลำดับชั้นเพื่อใช้เก็บข้อมูลที่เรียกค้นได้รวดเร็ว กลไกหลักของระบบ DNS คือ ทำหน้าที่แปลงข้อมูลชื่อและหมายเลข IP Address หรือทำกลับกันได้
1.อ้างตามชื่อ domain
2.อ้างตาม IP Address
3.อ้างตามหมายเลขฮาร์ดแวร์หรือ MAC address
DHCP การทำงานของโปรโตคอล DHCP คือได้เพิ่มเติมความสามารถในการนำแอดเดรสที่กำหนดให้เครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์นำไปใช้งานกลับมาแล้วแจกจ่ายออกไปใหม่
ขั้นตอนการสร้างกำหนดแอดเดรสให้กับ DHCP client
ขั้นตอนที่ 1 -IP Lease Request
ขั้นตอนที่ 2 -IP Lease Offer
ขั้นตอนที่ 3 -IP Lease Selection
ขั้นตอนที่ 4 -IP Lease Acknowledgement
LDAP จะใช้ระบบการเรียกชื่อหรือ Naming Schema และ Namespace ตามแบบของมาตรฐาน x.500 โดยที่จะมี Object ทำหน้าที่เป็น Container หรือ Collection ให้กับ attribute ต่างๆ ของแต่ละ Object

สรุปบทที่ 7
อีเมล์ และโปรโตคอลของอีเมล์
อีเมล์ (E-mail) หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้อีเมล์เป็นพื้นฐาน การทำงานของอีเมล์ไคลเอนต์และอัเมล์เซิร์ฟเวอร์มีส่วนประกอบดังนี้
1.User Agent เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทางด้านผู้ใช้งาน
2.MTA (Mail Transfer Agent) เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่จะส่งอีเมล์จากต้นทางไปยังผู้รับปลายทาง
โปรโตคอลและประเภทการใช้งาน
การทำงานของอีเมล์โดยสรุปมีเพียง 2 ประเภทคือ การส่งอีเมล์ และการรับอีเมล์ จะมีโปรโตคอล POP,SMTP และ IMAP
POP3 ขั้นตอนการทำงานของ POP3 ประกอบด้วย 3 สถานะคือ สถานะขออนุมัติ,สถานะรับส่งรายการและสถานะปรับปรุงข้อมูล
SMTP สามารถส่งอีเมล์ไปยังผู้รับคนเดียวหรือหลายๆคนพร้อมกันได้
IMAP4 การทำงาน 4 สถานะ คือ สถานะก่อนอนุมัติ,สถานะได้รับการอนุมัติ,สถานะเลือกเมล์บ็อกซ์และสถานะเลิกใช้งาน

สรุปบทที่ 8
การรับส่งไฟล์และระบบไฟล์
FTP เป็นเครื่องมือในการโอนไฟล์ได้รับความนิยมสูงสุด คุณสมบัติของ FTP ก็คือสามารถโหลดไฟล์มาจากเซิร์ฟเวอร์หรือส่งไฟล์ไปเก็บไว้ที่เซิร์ฟเวอร์ได้
วิธีการรับส่งของ FTP คือ
1.Stream Mode รับส่งข้อมูลเรียงลำดับไบต์ส่งต่อกันไปเรื่อย ๆ
2.Block Mode การรับส่งข้อมูลที่เป็นบล็อค
3.Compressed Mode วิธีเพิ่มประสิทธิภาพการรับส่งข้อมูล
ระบบเสริมอื่น ๆในการเรียกใช้ข้อมูลข้ามเครื่อง
GetRight เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำงานร่วมกับบราวเซอร์ จะถูกเรียกขึ้นมาทำงานโดยอัตโนมัติ โดยจะมาแทนที่ไดอะล็อกซ์ปกติของบราวเซอร์ โดยจะบันทึกชื่อ URL ที่ดาวน์โหลดไฟล์นั้น ๆและชื่อไฟล์เอาไว้
WebNFS สามารถใช้งานกับระบบไฟล์แบบ NFS จุดเด่นของ WebNFS ก็คือ การโอนย้ายข้อมูลซึ่งจะมีกลไกที่สามารถตรวจสอบและรับส่งไฟล์ต่อจากที่เคยส่งต่อมาแล้วแต่ไม่สำเร็จได้ด้วย
WebDAV มีความสามารถหลัก 3 ข้อคือ การป้องกันการบันทึกข้อมูลซ้ำ,คุณสมบัติของทรัพยากรและการจัดการ
CIFS จะยอมให้คอมพิวเตอร์อื่นที่ต่อผ่านเครือข่ายเข้ามาสามารถใช้เซิร์ฟเวอร์ของ CIFS ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้